การ กำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม ๗ อย่าง
๑.การวิเคราะห์หลักสูตร
๒. การวิเคราะห์ผู้เรียน
๓.การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
๔.การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
๕.การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
๖.การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อ พัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
๗. การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและ การสอนของตน
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ (ข้อสอบ ๒๐ คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีหลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีดังนี้
1.เป็นกระบวนการที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน และรู้จักรับผิดชอบด้วยตนเอง
2.มีการเรียนรู้ หรือศึกษาการเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ มากมายไม่ใช่ศึกษาหาความรู้จากแหล่งเดียว หรือเพียงในห้องเรียนเท่านั้น
3.เป็นการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง
4.เป็นกระบวนการที่มีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
5.เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อการเรียนของผู้เรียน
6.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับชีวิตจริงของแต่ละบุคคลจากหลักการดังกล่าวจะนำไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างมีความสุข
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แผนการเรียนรู้ที่ 4 การสร้างประสบการณ์สะกดคำ เวลา 1 ชั่วโมง
************************************************************************
1. สาระสำคัญ
1.1 คำไทยเกิดจากการนำรูปพยัญชนะ รูปสระ และวรรณยุกต์มาประสมกัน
1.2 การสะกดคำ และประสมคำได้ถูกต้องเป็นพื้นฐานของการใช้ภาษาไทย
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
2.1 นักเรียนสามารถสะกดคำโดยนำเสียงและรูปของพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ประสม
เป็นคำและอ่านได้ถูกต้อง
2.2 นักเรียนสามารถสะกดคำโดยนำเสียงและรูปของพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ประสมเป็นคำและเขียนคำได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของภาษา
3. สาระการเรียนรู้
3.1 รูปพยัญชนะ
3.2 รูปสระ
3.3 รูปวรรณยุกต์
3.4 การสะกดคำและการประสมคำช่วยให้เกิดทักษะในการอ่านและรู้จักคำที่มีคำประสมมากขึ้น
4. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. ครูพานักเรียนทบทวนเรื่องพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์
2. ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเรื่องพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์
3. ครูและนักเรียนอภิปรายสนทนาเกี่ยวกับ เรื่องพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์
ขั้นสอน
1. นักเรียนฝึกสะกดคำ ฝึกประสมคำ และเขียนตามคำบอกที่ครูบอก
2. ครูสอนให้นักเรียนรู้จักคำในมาตราตัวสะกดต่าง ๆ
มาตรตาตัวสะกดแม่กง เช่น ชง มง ปง ลง
มาตราตัวสะกดแม่กน เช่น ชน มน ขน คน
มาตราตัวสะกดแม่กม เช่น ชม ขม ปม ดม
มาตราตัวสะกดแม่เกย เช่น สวย รวย ซวย มวย
มาตราตัวสะกดแม่เกอว เช่น สาว ลาว ขาว หาว
มาตราตัวสะกดแม่กก เช่น รก บก ดก หก
มาตราตัวสะกดแม่กด เช่น ปด หด สด ลด
มาตราตัวสะกดแม่กบ เช่น ขบ รบ สบ ตบ
3. แนะนำ ชี้แจงให้นักเรียนรู้จักอักษรนำ ซึ่งเป็นอักษรที่มี ห นำ และ อ นำ เช่น หนู หนา หนี อย่า อยู่ อย่าง อยาก
4. ฝึกให้นักเรียนรู้จักการผันวรรณยุกต์ โดยเริ่มต้นที่นักเรียนรู้จักเครื่องหมายวรรณยุกต์ เช่น เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา ให้นักเรียนรู้จักเครื่องหมายต่าง ๆ แล้วจึงให้นักเรียนรู้จักคำในมาตราต่าง ๆ ที่เคยเรียนมาแล้วให้นำมาประสมกันและผันวรรณยุกต์ เช่น กาน ก่าน ก้าน ก๊าน ก๋าน แปน แป่น แป้น แป๊น แป๋น
5. ฝึกให้นักเรียนอ่านคำที่มีคำควบกล้ำ ร ล และเห็นความแตกต่างของคำนั้น ๆ เช่น รัก ลัก (รัก ที่ ร เป็นพยัญชนะต้นจะมีความหมายถึง การรัก หวงแหน ชื่นชอบ แต่ ลัก ล เป็นพยัญชนะต้น จะหมายถึงการลักขโมย)
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปวิธีการสร้างคำใหม่ ตัวสะกดมาตราต่าง ๆ คำที่เป็นอักษรนำ การผันวรรณยุกต์ และคำควบกล้ำ ซึ่งที่สำคัญนักเรียนต้องได้รับการฝึกฝนและการปฏิบัติจริง เป็นการเพิ่มทักษะให้นักเรียนได้เป็นอย่างดี
5. สื่อและแหล่งเรียนรู้
5.1 หนังสือเรียน เรื่อง การประสมคำ
6. การวัดและประเมินผล
วิธีการวัดและประเมินผล
1. การสังเกต
A การอ่านคำ
A การร้องเพลง
A ความสนใจในการเรียน
A กระบวนการทำงานของแต่ละคน
2. การตรวจผลงาน
A สมุดงาน/แบบฝึกหัดชุดที่ 4
A ใบงาน
เครื่องมือวัดและประเมินผล
A แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน
A ใช้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป
กิจกรรมเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………